ฟลิม์เอดทำงานอย่างไร
ฟลิม์เอด ใช้พลังอำนาจของภาพยนต์,สื่อ และสารคดีสั้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ในด้านสาธารสุขขั้นพื้นฐาน การประกอบอาชีพ การเรียนรู้และการศึกษาการพัฒนาชุมชน การรักษาสิ่งแวดล้อม และทักษะทั่วไป นำการศึกษาให้กับประชาชนทั่วไป ผู้หญิงและเด็กในชุมชนที่ขาดแคลน ด้วยสื่อแบบสร้างสรรค์และปลอดภัย เพื่อบรรเทาด้านจิตใจ สร้างเสียงหัวเราะ และสร้างความหวัง
มูลนิธิเสริมปัญญา
ฟลิม์เอดเอเซีย ได้จดทะเบียนก่อตั้งเป็นมูลนิธิ ในประเทศไทยอย่างถูกต้องในปี พุทธศักราช 2558 และมีชื่อเป็นภาษาไทย เรียกว่า มูลนิธิเสริมปัญญา ซึ่งมีความหมายว่า ''การการแบ่งปันภูมิปัญญา'' หรือ 'การส่งเสริมความรู้เพื่อพัฒนาชีวิต ' และมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษเรียกว่า ฟลิม์เอดฟาวเดชั่น (FilmAid Foundation) เพื่อขยายขอบเขตการดำเนินโครงการของมูลนิธิฯ นำความรู้สู่ประชาชนทั่วไป ผู้หญิงและเด็ก ในชุมชนที่ขาดแคลน และศูนย์การเรียนรู้ผู้พลัดถิ่น ภายนอกค่ายพักพิงชั่วคราวฯ
เนื่องจากลักษณะที่มีช่องโหว่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า และประกอบกับอยู่ในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออกและตะวันตก (East – West Economic Corridor: EWEC) หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ จึงทำให้เกิดการสร้างสะพาน หรือเรียกว่า “สะพานมิตรภาพ” เชื่อมโยงระหว่าง ไทย-พม่า หลายแห่งเพื่อสะดวกต่อการคมนาคม และการขนส่งถึงกันระหว่างทั้งสองประเทศ จึงมีชาวพม่าหลายพันคนที่ต้องการเข้ามาทำงานในประเทศไทย ข้ามชายแดนในทุกๆปีและกลายเป็นแรงงานอพยพในประเทศไทย ซึ่งแรงงานชาวพม่า และชาวกระเหรี่ยง เมื่อได้ย้ายเข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้วก็ได้พาครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ด้วย จึงทำให้เกิดมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ผู้ผลัดถิ่น เพื่อสนับสนุนการศึกษาของบุตรหลานผู้ที่เข้ามาใช้แรงงานในประเทศไทย ศูนย์การเรียนรู้ผู้พลัดถิ่นเป็นโอกาสสำหรับการศึกษาเพื่อเด็กที่อพยพตามมากับครอบครัว ซึ่งยังไม่มีสิทธิ์เข้าเรียนในระบบโรงเรียนของรัฐบาลไทย และขณะนี้มีศูนย์การเรียนรู้ผู้พลัดถิ่นมากกว่า 60 แห่ง กระจายอยู่ตามแนวชายแดนไทย
หลังจากได้รับการอนุมัติให้เป็นมูลนิธิในประเทศไทยในเดือน มีนาคม พุทธศักราช 2558 ทางมูลนิธิก็ได้ดำเนินกิจกรรมในหมู่บ้านที่ห่างไกล และในศูนย์การเรียนรู้ผู้พลัดถิ่น ขึ้นใน มิถุนายน พ.ศ. 2558 ทางมูลนิธิเสริมปัญญา ได้นำความรู้ในโครงการซึ่งเรียกว่า “ โครงการนำความรู้เคลื่อนที่สู่ชุมชน” ซึ่งทางมูลนิฯ ได้นำสื่อทางการศึกษาของเราไปยังหมู่บ้านที่ห่างไกล และศูนย์การเรียนรู้ผู้พลัดถิ่น ซึ่งในตอนนี้ได้ดำเนินกิจกรรรมนำความรู้ให้กับศูนย์การเรียนรู้ผู้พลัดถิ่น มากถึง 30 แห่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล
สำนักงานใหญ่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 103/5 ถนนสมัครสรรพการ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีพนักงานชาวไทยและอาสาสมัครชาวพม่ารวมทั้งสิ้น 7 คน เพื่อประสานงานด้านกิจกรรมของมูลนิธิฯ ในหมู่บ้านชนบทที่ห่างไกลในจังหวัดตาก,ศูนย์พักพิงชั่วคราวทั้ง 9 แห่ง ,ศูนย์การเรียนรู้ผู้พลัดถิ่น และในหมู่บ้านที่ขาดแคลนต่างๆในประเทศพม่า
ทางมูลนิธิฯได้ทำการฝึกอบรบให้ความรู้ด้านเทคนิคในการฉายสื่อการเรียนรู้ให้แก่ผู้หนีภัยจากการสู้รบในศูนย์พักพิงชัวคราวทั้ง 9 แห่ง เพื่อให้มีทักษะในการนำเสนอสื่อการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์,ให้ความรู้ด้านสุขภาพและพลานามัยขั้นพื้นฐาน,การจัดการน้ำ และประเด็นที่สำคัญอื่นๆ พร้อมกับให้ความบันเทิงแก่ผู้หนีภัยจากการสู้รบ ซึ่งกระจายอยู่ใน 4 จังหวัด ของประเทศไทย คือ
จังหวัดตาก
· พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านแม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
· พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านอุ้มเปี้ยม อ.พบพระ จ.ตาก
· พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านนุโพ อ.อุ้มผาง จ.ตาก
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
· พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านใหม่ในสอย อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
· พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านแม่ลามาหลวง อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน
· พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านแม่ละอูน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน
· พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านแม่สุริน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
จังหวัดกาญจนบุรี
· พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านต้นยาง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
และจังหวัดราชบุรี
· พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
คลีนิกฝากครรภ์ ผู้ป่วยนอก (OPD) ตามแนวชายแดนไทย-พม่า
มูลนิธิเสริมปัญญาให้การสนับสนุนอุปกรณ์และสื่อวีดีโอเรื่องการดูแลสุขภาพของแม่และเด็ก และได้จัดทำเป็นภาษาท้องถิ่นเพื่อให้ผู้ที่เข้ามารับการรักษาหรือญาติผู้ป่วยได้รับชมและศึกษาขณะรอเพื่อเข้ารับการรักษาตามนัดหมาย ที่คลีนิกฝากครรภ์ ผู้ป่วยนอก
คลีนิกรักษาวัณโรค ผู้ป่วยใน (IPD)
เนื่องจาก การรักษาวัณโรคต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาเป็นเวลาหลายเดือน ทางมูลนิธิเสริมปัญญาจึงได้สนับสนุนอุปกรณ์ โทรทัศน์,เครื่องเล่นดีวีดีเพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคที่พักอาศัยอยู่ในคลีนิกและอยู่ในระหว่างขั้นตอนการรักษาได้รับชมสื่อวีดีโอเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันวัณโรค,วิธีการรักษาพร้อมกับให้ความบันเทิง เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้ แก่ผู้ป่วยวัณโรคที่กำลังรู้สึกซึมเศร้าจากอาการเจ็บป่วยของตนเอง
โรงหนังเคลื่อนที่ ในหมู่บ้านที่ห่างไกล
โครงการโรงหนังเคลื่อนที่ ไปยังหมู่บ้านที่ห่างไกลที่ยังไม่มีแม้แต่ไฟฟ้า ซึ่งยังคงมีอีกมากมายหลายหมู่บ้านในเขตจังหวัดตากและจังหวัดอื่นๆ ซึ่งในเขตจังหวัดตากจะพบเห็นหมู่บ้านที่เป็นชาวไทยสัญชาติกระเหรี่ยงอาศัยอยู่กระจายอยู่โดยรอบ ซึ่งพวกเขายังใช้ภาษาของตนเอง และมีบางคนไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาไทยได้ ทางมูลนิธิฯได้ทำโครงการ โรงหนังเคลื่อนที่ หรือ โครงการ “การศึกษาเคลื่อนที่สู่ชุมชน” ให้กับหมู่บ้านในเวลากลางคืน โดยเน้นเรื่องการศึกษาการทำเกษตรแบบยั่งยืน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการศึกษาด้านสุขภาพ ในภาษาที่พวกเขาเข้าใจ และในอนาคตทางมูลนิธิฯ มีแผนการที่จะดำเนินกิจกรรม การศึกษาเคลื่อนที่สู่ชุมชน ในด้านการจัดการปัญหาแอลกอฮอล์,ยาเสพติด,การรักษาสิ่งแวดล้อม และอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2554 ในศูนย์พักพิงชั่วคราวทั้ง 9 แห่ง มีผู้หนีภัยอาศัยอยู่ มากกว่า 150,000 คน แต่มาในปี พ.ศ.2559 มีผู้หนีภัยที่อาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวได้มีจำนวนลดลงเหลือเพียง 98,000 คน (ตามข้อมูลจาก UNHCR) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลที่มีนโยบายให้มีการผลักดันผู้หนีภัยไปตั้งถิ่นฐานใหม่ และโยกย้ายกลับสู่ประเทศบ้านเกิด ผู้หนีภัยที่ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว พวกเขาเสียบ้านเรือน,ไร่นา พวกสูญเสียเขาแขนและขาจากการไปเหยียบทุ่นระเบิดที่หลงเหลือจากสงคราม และผู้ที่เกิดในศูนย์พักพิงชั่วคราว ทุกคนกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการหาวิธีกลับสู่ประเทศบ้านเกิด แต่เนื่องจากทหารพม่ายังคงยึดที่ดินทำกิน การสร้างภาคประชาสังคมและโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่นยังไม่เป็นรูปธรรม
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาครอบครัว ชุมชน และสังคม
ดำเนินกิจกรรมทีเป็นประโยชน์เพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
ดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณะประโยชน์
ไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการเมืองแต่ประการใด
เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ในด้านสาธารณสุขพื้นฐาน การประกอบอาชีพ การเรียนรู้และการศึกษาการพัฒนาชุมชน และ การรักษาสิ่งแวดล้อมให้ แก่ ประชาชนทั่วไป ผู้หญิงและเด็ก ในชุมชนที่ขาดแคลน
เพื่อบรรเทาความทุกข์และความยากจนให้กับผู้หญิงและเด็กในชุมชนที่ขาดแคลน
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ด้านการศึกษาและการเรียนรู้ แก่เด็ก นักเรียน ประชาชนทั่วไป และสาธารณกุศล